" "

วิตามิน 7 ตัวสำคัญสำหรับผู้สูงอายุ เน้นปกป้องสมอง สายตา และกระดูก

เมื่อก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุแล้วแน่นอนว่ากระบวนการทำงานในร่างกายย่อมเสื่อมถอยตามตัวเลขอายุที่เพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้เองการรับประทานอาหารเพื่อช่วยซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอจึงอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในผู้สูงอายุ อีกหนึ่งทางเลือกคือการรับประทานวิตามินเพื่อเสริมคุณค่าทางอาหารอื่นๆ ให้ร่างกายได้ทำงานอย่างมีระบบและช่วยทดแทนส่วนที่ร่างกายของผู้สูงวัยต้องการ เราขอแนะนำ วิตามิน 7 ตัวที่สำคัญสำหรับผู้สูงอายุ โดยเน้นที่การปกป้องสมอง สายตาและกระดูกของผู้สูงวัยเป็นสำคัญค่ะ

วิตามิน-1

 

ทำไมวิตามินจึงสำคัญสำหรับผู้สูงอายุ?

– วิตามินจากอาหารที่ได้รับในแต่ละวันมีปริมาณที่ไม่เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ

– สุขภาพช่องปากที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ไม่สามารถรับประทานอาหารหลากหลายทางเลือกได้มากเท่าเมื่อก่อน

– ร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึงความถดถอยของกระบวนการทำงานภายในร่างกาย อาจทำให้การดูดซึมสารอาหารเป็นไปได้ยากกว่าปกติ

อย่างไรก็ตามก่อนที่จะเลือกวิตามินเสริมสำหรับผู้สูงอายุควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นการเจาะเลือดตรวจสารอาหารที่ร่างกายต้องการและจำนวนวิตามินที่เหมาะสมกับร่างกายของผู้สูงอายุแต่ละคน เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นต่อร่างกายได้

 

7 วิตามินสำคัญสำหรับผู้สูงอายุ

ไม่ใช้ผู้สูงอายุทุกคนที่ต้องการวิตามินเสริม หากรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เหมาะสมและไม่มีโรคประจำตัวให้ต้องกังวล ก็ไม่จำเป็นต้องได้รับวิตามินเพิ่มเติม แต่แน่นอนว่าในผู้สูงวัยโดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ อาทิ ความดันโลหิตสูง หรือการได้รับผลข้างเคียงจากการรับประทานยา การได้รับคำแนะนำจากแพทย์นับว่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด และนี่คือ 7 วิตามินคุณภาพขั้นเบสิคที่แนะนำให้กับผู้สูงอายุรับประทาน

1. วิตามินรวม

การได้รับวิตามินรวมเป็นประจำทุกวันจะทำให้คุณมั่นใจได้ว่าได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนในแต่ละวันเพื่อการใช้ชีวิตที่มีคุณภาพในการทำกิจกรรมต่างๆ วิตามินรวมนั้นจะอุดมไปด้วยวิตามินที่ผู้สูงวัยอาจไม่ได้รับในชีวิตประจำวัน อาทิ วิตามิน D, A, K, E แคลเซียม กรดโฟลิค และโพแทสเซียม อีกทั้งยังมีส่วนประกอบของไลโคปีน ลูทีน และโพรไบโอทิค วิตามินรวมที่ได้รับความนิยม อาทิ One A Day สำหรับผู้สูงวัย 65 ปีขึ้นไป และ Centrum Silver สำหรับผู้มีอายุ 50 ปีขึ้นไป

2. วิตามินดี

วิตามินช่วยบำรุงโครงกระดูก อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างและป้องกันกระดูก อีกทั้งการวิจัยยังยืนยันว่าวิตามินดียังช่วยยังยั้งเหตุของการเกิดโรคกระดูกพรุน โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคเบาหวาน ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้รับประทานวิตามินดี 20-25 ไมโครกรัมต่อวัน ซึ่งสามารถรับประทานได้จากอาหารในชีวิตประจำวันเช่น ซีเรียล นม และผลิตภัณฑ์จากนม นอกจากนั้นยังพบในไข่ และปลาแซลมอนอีกด้วย

3. วิตามินบีรวม

เมื่ออายุมากขึ้นทำให้ร่างกายดูซึมวิตามินบีได้ไม่ดีเมื่อช่วงที่อายุยังน้อย โดยเฉพาะวิตามิน B12 และ B6 อีกทั้งกรดในกระเพาะอาหารก็ทำให้การดูดซึมสารอาหารดีๆ จากวิตามินบีนั้นลดตามลงไปด้วย

วิตามินบีนั้น มีความหลากหลายและแตกต่างกันไป ทั้ง โฟเลท ไนอะซิน ไบโอติน ฯลฯ ดีต่อการทำงานของระบบประสาท ความดันโลหิต และวิตามิน B12 ยังส่งผลต่อการทำงานของระบบสมองอีกด้วย

ผู้เชียวชาญแนะนำให้รับประทานวิตามินบีรวม 2.4 ไมโคกรัมต่อวัน จากอาหารที่หลากหลาย อาทิ เนื้อ สัตว์ปีก ไข่ นม ผักและผลไม้ อีกทั้งยังสามารถรับสารอาหารเพิ่มเติมได้จากการรับประทานอาหารเสริมเพิ่มเติมค่ะ

วิตามิน-2

4. วิตามินซี

วิตามินซี เป็นส่วนประกอบสำคัญในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและระบบเผาผลาญในร่างกาย และสามารถได้รับจากสารอาหารภายนอกเท่านั้น ดังนั้นผู้สูงอายุส่วนมากจึงเกิดภาวะการได้รับวิตามินซีที่ไม่เพียงพอ

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าควรรับประทานวิตามินซีวันละ 75-90 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งสามารถพบได้ในอาหารทั่วไป อาทิ ส้ม บล็อคโคลี่ มะเขือเทศ หรือรับประทานวิตามินเสริมเพิ่มเติมได้

5. แคลเซียม

แคลเซียมเป็นสารอาหารสำคัญเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นช่วงวัยที่เสียงต่ออาการของกระดูกที่เปราะบางหรือโรคกระดูกพรุน โดยในเพศหญิงจะมีความรู้สึกไวต่ออาการขาดแคนเซียมมากกว่าเพศชายเนื่องด้วยภาวะการหมดประจำเดือน 

มีคำแนะจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรได้รับอาหารเสริมประเภทแคลเซียมเมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป ในเพศชายควรได้รับแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนเพศหญิง 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน แคลเซียมพบมากในปลาทูน่า, ชีส, โยเกิร์ต, เคล, งา, ตับวัว และผักโขม และแน่นอนว่าคุณสามารถรับอาหารเสริมแคลเซียมเพิ่มเติมได้หากได้รับจากอาหารในแต่ละวันไม่เพียงพอ

6. กรดไขมันโอเมก้า

กรดไขมันโอเมก้า 3 และ 6 นั้นมีส่วนสำคัญในการสร้างพลังงานและการทำงานของข้อต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีรูปแบบหลักอยู่ 3 ชนิดด้วยกันคือ DHA EPA และ ALA จากการศึกษาพบว่ากรดไขมันโอเมก้าช่วยลดความเจ็บปวดและอาการของภาวะข้อต่ออักเสบ อีกทั้งยังช่วยลดระดับของอาการของโรคจอประสาทตาเสื่อมที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุสามารถรับกรดไขมันโอเมก้าได้จากอาหารทะเล แฟลกซี้ด วอลนัท และอาหารเสริมต่างๆ ได้เช่นกัน

7. โคเอนไซม์ Q10

CoQ10 ได้รับการยอมรับว่าเป็นสารแอนติออกซิแดนซ์ที่ผลิตได้จากตับ แต่เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น กระบวนการทำงานของตับนั้นลดลง และไม่สามารถหาได้จากการรับประทานอาหารอื่นๆ อีกทั้งการขาด CoQ10 มีผลอย่างยิ่งต่อการเกิดโรคหัวใจและอาการป่วยเริ่มต้นของโรคพากินสันอีกด้วย รับประทานอาหารเสริมเพื่อรับ CoQ10 วันละ 100-200 มิลลิกรัมเป็นประจำทุกวัน เพื่อให้ได้รับสารอาหารชนิดนี้อย่างพอเพียงนะคะ

นอกเหนือไปจากการรับประทานอาหารเสริมที่เราแนะนำไปข้างต้นแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการหมั่นรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ทั้งการออกกำลังกายและเลือกรับประทานอาหารที่ประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละวัน และปรึกษาแพทย์เมื่อเกิดข้อสงสัยในการรับประทานอาหารหรือออกกำลังกาย ขอให้ผู้สูงอายุทุกท่านสุขภาพดีค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก: SnugSafe